วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โครงการพระราชดำริ

โครงการศึกษาประเมินศักยภาพและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
เพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
1. ความเป็นมาและปัญหา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยในพสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะเกษตรกรในชนบทที่ยากไร้รวมทั้งชาวเขาเผ่าต่างๆราษฎรเหล่านี้ ขาดแคลนที่ทํากินขาดแหล่งน้ำและขาดความรู้ในการเกษตรกรรมที่ดีพอจึงทําให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหา ความยากจนของตัวเองได้ ี่พระองค์เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรหรือได้สดับรับฟังปัญหาก็มักทรงมีพระราชดําริให้การช่วยเหลืออยู่เสมอมาจนเกิดเป็น โครงการในพระราชดําริ โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ และโครงการหลวง ต่างๆ มากมายกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
โครงการหลวงเกิดขึ้นจากการเสด็จเยี่ยมราษฎรชาวเขาในภาคเหนือทรง
ทราบถึงปัญหาการตัดไม้ทําลายป่า เผาถ่านทําไร่เลื่อนลอยมีการปลูกข้าวไร่ไว้กินและมีการปลูกฝิ่นไว้ขาย เนื่องจากที่บนเขามีความ ลาดชัน หน้าดินถูกชะล้างโดยง่ายทําให้ดินเสื่อมโทรม ชาวเขาจึงมักย้าย ที่เพาะปลูกโดยการรุกที่ป่าเข้าไป เรื่อยๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดํารให้พัฒนาอาชีพของชาวเขาจากการปลูกฝิ่นเป็นการ ปลูกพืชทดแทนอย่างอื่น เช่น ท้อ โดยจัดตั้งโครงการหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 เพื่อช่วยเหลือดูแลการพัฒนา ตลอดจนรับซื้อผลผลิตต่อมาจึงได้ มีการวิจัยโดยนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อนําพืชผักและไม้ดอก จากเมืองหนาว ต่างประเทศมาทดลองปลูกมากมายหลายชนิดและมี การพัฒนาเพิ่มในที่ต่างๆ ถึง 37 ศูนย์ใน 5 จังหวัดภาคเหนื อตอนบน ในปี พ.ศ. 2546 เกษตรกรในพื้นที่ พัฒนาโครงการหลวงมีรายได้จาก การขาย ผลผลิตรวมกันเกือบ 300 ล้านบาท นอกจากการพัฒนาอาชีพและสังคมแล้ว โครงการหลวงยังมีบทบาทสําคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนต้นน้ำลําธารอีกด้วย
โครงการพระราชดำริ จํานวนมากที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เป็นการพัฒนาแบบ ผสมผสานเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ ของราษฎรในชนบท และยังเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านการพัฒนาทาง เกษตรกรรมให้แก่นิสิตนักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป โครงการพระราชดําริบางโครงการเป็นการวิจัย พัฒนาสิ่งประดิษฐ์; ที่เกิดจากพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่น กังหันน้ำมูลนิธิชัยพัฒนา การแกล้งดินเพื่อแก้ดินเปรี้ยว การปลูกหญ้าแฝกเพื่อ รักษาหน้าดิน โครงการแก้มลิงหรือการทําเกษตร อย่างพอเพียง ฯลฯ
โครงการพัฒนาส่วนพระองค์เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวที่ทรงใช้ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดให้มีโครงการพัฒนาบนพื้นที่ส่วนพระองค์ เพื่อเป็นการพัฒนาด้านเกษตรกรรมตามแนวทาง เกษตรทฤษฎีใหม่ สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้ง เพื่อให้เป็นสถานที่ ทดลอง ค้นคว้า ศึกษา อบรมให้แก่ เกษตรกร และนิสิตนักศึกษาในด้านการพัฒนาสร้าง รูปแบบการประกอบอาชีพของชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกษตรกร ในพื้นที่ใกล้เคียงและ ผู้สนใจได้ นําไปถือปฏิบัติเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรและเกษตรกรที่ยากจนให้มีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น
กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเป็นหน่วยงานด้านวิชาการและปฏิบัติที่มีภารกิจในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย บริหารจัดการ ควบคุมดู แล อนุรักษ์ ฟื้นฟู และทรัพยากรน้ำบาดาล ได้รับการติดต่อประสานงานจาก สํานักงานจั ดการทรัพย์ สินส่ วนพระองค์ ให้สนับสนุนการพัฒนาน้ำบาดาลสําหรับกิ จกรรมต่ างๆ ของ โครงการในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ อย่างต่อเนื่องกันมา และกรมทรัพยากรน้ำบาดาลก็ได้ ใช้ หลักวิชาการในการพัฒนาน้ำบาดาล ได้แก่ การศึกษาประเมินศักยภาพ พัฒนาแหล่งน้ำบาดาล ตลอดจน สร้างเครือข่ายติดตามเผ้าระวังผลกระทบที่อาจติดตามมาจากการใช้ น้ำนอกจากนี้ แล้ว ยังใช้เป็นต้นแบบ สําหรับการพัฒนาน้ำบาดาลของพื้ นที่ใกล้เคียงที่ มี สภาพอุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน ที่จะนําแนวทางไป พัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อกิจกรรมทางการเกษตรตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม ่ต่อไป
ในปีงบประมาณ 2549 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลมีเป้าหมายที่จะดําเนินพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อ สนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ในพื้นที่ 5 โครงการ ซึ่ งได้มีการสํารวจเบื้องต้นและเห็นว่ามี ความต้องการน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และเพื่อกิจกรรมของโครงการเหล่านั้น
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาน้ำบาดาลสําหรับการอุ ปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตรกรรมให้ แก่โครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดําริ โครงการส่วนพระองค์ หรือโครงการหลวง เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่โครงการได้ความ เป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น
2. เพื่อศึกษาประเมินศักยภาพน้ำาบาดาลขั้นรายละเอียด และพัฒนาน้ำบาดาลให้แก่โครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดําริต่ างๆ พร้อมจัดสร้างเครือข่ายติดตามเฝ้าระวัง สํ าหรับการบริหารจั ดการแหล่งน้ำ บาดาลตามหลักวิชาการ โดยให้ผลการศึกษาเป็นต้นแบบสําหรับนําไปประยุกตฺ์ใช้ในพื้นที่ใกล้เคียงที่มีสภาพ อุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน
3. ประโยชน์
1) ราษฎรในพื้นที่โครงการได้มีน้ำพื่อการอุโภค บริโภค และเพื่อการเกษตร อย่างพอเพียง มีแหล่งน้ำ สําหรับการเกษตรในฤดูแล้ง
2) ทําให้ทราบศักยภาพน้ำบาดาลของแอ่งน้ำบาดาล สําหรับการเกษตรและการอุปโภค-บริโภค ซึ่งเป็น ข้อมูลสําคัญในการวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของแต่ละโครงการ
3) มีการตรวจสอบและติดตามสภาพน้ำบาดาลที่อาจได้รับผลกระทบ ทั้งในพื้นที่โครงการและใกล้เคียง เพื่อป้องกันวิกฤตการณ์น้ำบาดาล
4) เกษตรกรนอกโครงการสามารถนําผลที่ได้จาการศึกษา ไปออกแบบและก่อสร้างระบบการจ่ายน้ำเพื่อ การเกษตรกรรมในพื้นที่ใกล้เคียงที่มีสภาพอุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน
4.งานที่ปฎิบัติ กิจกรรมหลัก และผลผลิต



โครงการชัยพัฒนา
โครงการชัยพัฒนา-กาชาดไทย-ศุภนิมิต (บ้านบางหว้า)
ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
ความเป็นมา

                        1. นางรุณีย์ อารีสวัสดิ์ ราษฎรบ้านทุ่งนางดำ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และ  เพื่อนบ้าน 23 ครอบครัว ได้ร้องเรียนมายังสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อขอความช่วยเหลือภายหลังประสบภัยพิบัติสึนามิเนื่องจากไม่มีหน่วยงานใด                   ให้ความช่วยเหลือ
                        2. ต่อมา สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาจึงได้เข้าดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและเสนอ รายงานกราบบังคมทูล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ   สยามบรมราชกุมารี และได้พระราชทานพระราชวินิจฉัยให้ดำเนินการช่วยเหลือราษฎรดังกล่าวโดยการหาพื้นที่ เพื่อจัดสร้างบ้านพักถาวร รวมถึงให้ความช่วยเหลือด้านเครื่องมือประกอบอาชีพพร้อมทั้งให้ความรู้ด้านต่างๆ เพื่อนำไปประกอบอาชีพเสริม
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
                        สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา
แนวทางการดำเนินงาน
                         สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาได้ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เพื่อวางแผนการดำเนินงาน   โครงการฯ ประกอบด้วย
                        1. แผนงานจัดสร้างที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและจัดระเบียบชุมชน
                        2. แผนงานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ
ผลการดำเนินงาน 
1.  แผนงานจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 การจัดซื้อที่ดิน 
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานงบประมาณให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการซื้อที่ดิน จำนวน 5 ไร่       บริเวณบ้านบางหว้า หมู่ที่ 9 ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เพื่อก่อสร้างบ้านพักถาวร
1.2 การก่อสร้างบ้านพักถาวรและระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน
สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ประสานไปยังกลุ่มนายช่างชาวภูเก็ต เพื่อทำการออกแบบและก่อสร้างบ้านพักถาวร 23 หลัง พร้อมทั้งระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้าง ดังนี้
                  - มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ให้การสนับสนุนในด้านการก่อสร้างบ้านพักจำนวน 23 หลัง 
                  - สภากาชาดไทยให้การสนับสนุนในด้านการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค
ปัจจุบันการดำเนินงานด้านการก่อสร้างบ้านพักและระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ถนนทางเดินในโครงการฯ ระบบบำบัดน้ำเสียและขยะ ระบบระบายน้ำ ระบบประปา อาคารอเนกประสงค์ และลานกีฬา ได้ดำเนินการเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
      2. งานด้านการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ2.1 สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาได้ดำเนินการสนับสนุนเครื่องมือในการประกอบอาชีพที่จำเป็น เช่น เรือประมง อวน รวมถึงประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความรู้ด้านการประกอบอาชีพเสริม เช่น การปลูกผักปลอดสารพิษ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การทำผ้ามัดย้อมและการทำน้ำยาล้างจาน
2.2 สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาได้ประสานกับ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ จำกัด เพื่อจัดตั้งกองทุนสนับสนุนโครงการนำร่องการทำประมงในกระชังหมุนเวียนแบบผสม โดยประกอบด้วยกิจกรรม 2 ส่วน ได้แก่    กิจกรรมการเลี้ยงกุ้งมังกร ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน และการเลี้ยงปลาในกระชัง ในช่วงเดือนเมษายน ถึง เดือนตุลาคม โดยมีสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งท่าชาวน้ำ ประกอบด้วยราษฎรในโครงการชัยพัฒนา กาชาดไทย ศุภนิมิต (บ้านบางหว้า)  เป็นผู้ดำเนินการ ปัจจุบันได้มีการจับผลผลิตสัตว์น้ำทั้งกุ้งมังกร และปลา แล้ว
3. การจัดตั้งหมู่บ้านโครงการชัยพัฒนา - กาชาดไทย - ศุภนิมิต (บ้านบางหว้า)
3.1 การจัดราษฎรเข้าพักอาศัยบ้านพักถาวรในโครงการฯ
- สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาได้คัดเลือกราษฎรจากเกาะพระทอง เข้าพักอาศัยในหมู่บ้าน จำนวน 23 หลัง ซึ่งจากการตรวจสอบ การเข้าพักอาศัยของราษฎร พบว่า มีราษฎรเข้าพักอาศัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์แล้วบางส่วน
      - สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้สำรองบ้านพักไว้ จำนวน 4 หลัง ซึ่งสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับอำเภอคุระบุรี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้แทนจากอำเภอคุระบุรี ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลคุระ และผู้แทนเจ้าหน้าที่และราษฎรในโครงการ เพื่อดำเนินการพิจารณาคัดเลือกราษฎรที่จะเข้าพักอาศัยในบ้านพักที่ว่าง โดยการคัดเลือกจากผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์สึนามิ  ที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ และราษฎรที่เป็นคนจนที่ขึ้นทะเบียนไว้ที่อำเภอคุระบุรี 
พทางนิเวศที่เหมาะสมและความหลากหลายทางชีวภาพ แก่สังคมของพืชและสัตว์ ตลอดจนนำความชุ่มชื้นมาสู่แผ่นดิน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยสำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ ได้นำแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับฝาย เข้ามาบรรจุเป็นกิจกรรมหนึ่งในการฟื้นฟูระบบนิเวศของป่าไม้บริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้ฟื้นคืนสภาพทางนิเวศที่ เหมาะสมต่อ  การเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ในงบงานการจัดการลุ่มน้ำของกรมป่าไม้ (เดิม) ซึ่งหน่วยจัดการต้นน้ำทั่วประเทศ จำนวน 203 หน่วยทั่วประเทศ ได้ดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดทำฝายต้นน้ำลำธาร ประเภทต่าง ๆ เป็นจำนวนมากจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2546) ดังนี้


ฝายแม้ว คือ สิ่งก่อสร้างขวางหรือกั้นทางน้ำ ซึ่งปกติมักจะกั้นลำห้วยลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำ หรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงให้สามารถกักตะกอนอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอ การไหลของน้ำให้ช้าลง และกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลลงไปทับถมลำน้ำตอนล่าง ซึ่งเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีมากวิธีการหนึ่ง
รูปแบบและลักษณะฝายนั้น ได้พระราชทานพระราชดำรัสว่า “ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายราคาประหยัด โดยใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่น แบบหินทิ้งคลุมด้วยตาข่ายปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารขนาดเล็กเป็นระยะๆ เพื่อใช้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดินทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง ต่อไปจะสามารถปลูกพันธุ์ไม้  ป้องกันไฟ พันธุ์ไม้โตเร็วและพันธุ์ไม้ไม่ทิ้งใบ เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขึ้นเป็นลำดับ ”

“.......สำหรับต้นน้ำไม้ที่ขึ้นอยู่ในบริเวณสองข้างลำห้วย จำเป็นต้องรักษาไว้ให้ดี เพราะจะช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นไว้ ส่วนตามร่องน้ำและบริเวณที่น้ำซับก็ควรสร้างฝายขนาดเล็กกั้นน้ำไว้ในลักษณะฝายชุ่มชื้น แม้จะมีจำนวนน้อยก็ตามสำหรับแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมาก จึงสร้างฝายเพื่อผันน้ำลงมาใช้ในพื้นที่เพาะปลูก......”
นอกจากนี้ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยังได้กล่าวถึง ฝายต้นน้ำลำธาร ในรายการ "นายกฯ ทักษิณ คุยกับประชาชน" ทางคลื่น F.M. 92.5 ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม         2547 เวลา 08.00 น. ดังนี้

",,,
ฝายแม้ว หรือ เช็คแดม ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริตามแบบที่ได้ทรงทำที่ห้วย ฮ่องไคร้ที่เชียงใหม่ ผมก็เลยมอบนโยบายตามแนวพระราชดำรินี้ไปให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดทั้งหลายว่า เพื่อให้ภูเขาต่างๆ ได้เขียว เพราะไม่งั้นความแห้งแล้งจะได้เกิดขึ้นตลอด เขาก็ไปทำฝายแม้วที่หนองบัวลำภู   ซึ่งผมไปดูมา เขานั้นแห้งแล้งมาก แต่ปรากฏว่าพอฝนเริ่มตกมาก็มีน้ำ ฝายแม้วทั้งหลายก็กักเก็บน้ำได้นิดหน่อยๆ เพื่อให้เกิดความชื้นของภูเขา เพราะเขาลูกหนึ่งมีตั้งพันกว่าเขื่อน ส.ส.มาบอกผมว่าไปตรวจอีกครั้งหนึ่งตอนนี้เริ่มมีลูกอ๊อดแล้ว เต็มไปหมด ก็แสดงให้เห็นว่าธรรมชาตินั้นมันมีของมันอยู่ เมื่อมีความชุ่มชื้น ธรรมชาติกลับคืนมานี่ สิ่งที่มันเป็นสัตว์ที่อยู่ตามธรรมชาติ มันก็จะเริ่มฟื้นคืนขึ้นมา    และมันเป็นวิถีชีวิต มันเป็นของที่ควบคู่กับชาวบ้าน ผมก็ดีใจว่า สิ่งเหล่านี้ได้ผลรวดเร็วมาก ทุกจังหวัดก็ได้ทำกัน ทีนี้ป่ามันก็จะคืนสภาพได้ต่อมา เหมือนที่ห้วยฮ่องไคร้ซึ่งป่าถูกทำลายทั้งเขา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทำตามที่ผมเล่าให้ฟังนี่ ก็ปรากฏว่าป่าก็คืนสภาพ ไก่ป่า    ไก่อะไรก็เกิดขึ้นมาเต็มไปหมด เพราะฉะนั้นอันนี้เราจะต้องฟื้นคืนสภาพ,,,,"

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คำอวยพรเพื่อน

เปิดเทอมนี้ขอให้มีความสุข
เรียนหนังสือให้สนุกทั้งวัน
ช่วงท้ายทำข้อสอนได้เกรด A